skip to Main Content

บัญชีซื้อขายหุ้น มีกี่ประเภท

นักลงทุนมือใหม่หลายๆท่าน ที่มีความสนใจอยากเริ่มซื้อขายหุ้นมักจะต้องเคยเจอกับคำถาม “ต้องเริ่มอย่างไร”  ประเภทบัญชีซื้อขายหุ้นมีแบบไหนบ้าง แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร ควรเลือกเปิดแบบใด ในบทความนี้ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างประเภทบัญชีของ บริษัท หลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) บัญชีในการซื้อขายหลักทรัพย์แบ่งทั้งหมดเป็น  3 ประเภท ได้แก่

1. บัญชีแคชบาลานซ์ (Cash Balance) หรือบัญชีวางหลักประกันเต็มจำนวน พูดง่ายๆคือมีเท่าไหร่ก็ซื้อได้เท่านั้น (เป็นบัญชีที่ผู้เขียนแนะนำเหมาะกับผู้ที่เริ่มต้นลงทุนในตลาดหุ้น)โดยบัญชีประเภทนี้จะมีเลขลงท้ายบัญชีด้วยเลข 7

 

บัญชีประเภทนี้นักลงทุนจะสามารถซื้อหุ้นได้เท่ากับเงินที่มีอยู่ในบัญชีเท่านั้น พูดง่ายๆว่า “ฝากเงินไว้เท่าไร ก็ซื้อหุ้นได้เท่านั้น” เช่น เราอยากซื้อหุ้น มูลค่ารวม 100,000 บาท เราก็ต้องโอนเงินมูลค่า 100,000 บาท เข้าบัญชีก่อน ถึงจะสามารถทำการซื้อขายได้

 

ข้อดีของบัญชีประเภทนี้ คือ ช่วยป้องกันการซื้อหุ้นมากเกินความสามารถในการชำระเงิน ค่าคอมมิชชั่นก็จะต่ำกว่าบัญชีประเภท Cash Account อีกด้วย นอกจากนี้เงินที่นำมาฝากไว้กับโบรกเกอร์ก็จะได้รับดอกเบี้ยจากโบรกเกอร์อีกด้วย

 

ดังนั้นผู้ที่เหมาะกับบัญชีประเภท Cash Balance คือ นักลงทุนมือใหม่และนักลงทุนที่ต้องการ จำกัดวงเงินการลงทุน หรือกลัวว่าจะเผลอลงทุนเกินจำนวนเงินที่มี เรียกได้ว่าถ้าเป็นมือใหม่ ใจยังไม่นิ่ง แนะนำให้เปิดบัญชี Cash Balance

2. บัญชีเงินสด (Cash Account) โดยบัญชีนี้จะมีเลขลงท้ายด้วยเลข 0 บัญชีประเภทนี้ เราสามารถ วางเงินกับทางโบรคเกอร์ไว้ก่อนเพียงแค่ 20% ก็สามารถทำการซื้อขายหุ้นได้ โดยจะต้องชำระเงินค่าซื้อหุ้นในวันทำการที่ 2 (T+2) หลังจากวันที่เราซื้อหุ้น

 

เช่น ถ้าเราต้องการซื้อหุ้นมูลค่า 100,000 บาท เราจะต้องมีเงินหรือหุ้นอยู่ในบัญชีมูลค่าไม่น้อยกว่า 20,000บาท (20% ของมูลค่าหุ้นที่เราจะซื้อ) หลังจากที่เราซื้อหุ้นไปแล้วเราค่อยจ่ายเงินจำนวน 100,000 บาทโดยจะหักจากบัญชีของเราโดยอัตโนมัติในอีก 2 วันทำการถัดไป คล้ายๆการมัดจำไปก่อนแล้วค่อยจ่ายทีหลัง

ในขณะเดียวกันกรณีที่เราขายหุ้นก็จะได้รับเงินในวันที่ T+2 ด้วยเช่นเดียวกันที่มากไปกว่านั้น หุ้นที่เราถืออยู่ในพอร์ตก็สามารถนำมาเป็นหลักประกันในการซื้อหุ้นครั้งถัด ๆ ไปได้

ดังนั้นผู้ที่เหมาะกับบัญชีประเภท Cash Account คือ นักลงทุนที่มีวินัยในการลงทุน สามารถควบคุมการลงทุน พร้อมทั้งรู้จักการบริหารความเสี่ยงได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

3. บัญชีเครดิตบาลานซ์ (Credit Balance) หรือ บัญชีมาร์จินโดยบัญชีจะมีเลขลงท้ายด้วยเลข 6 บัญชีประเภทนี้เป็นบัญชีที่โบรกเกอร์เปิดเพื่อให้นักลงทุนกู้ซื้อหุ้นได้โดยนักลงทุนต้องนำเงินสด หรือหลักทรัพย์มาวางเป็นหลักประกันการชำระหนี้ก่อนซื้อหุ้น ตามสัดส่วนที่โบรกเกอร์กำหนด ส่วนที่เหลือโบรกเกอร์จะเป็นฝ่ายจ่ายซึ่งเงินที่โบรกเกอร์จ่ายให้นั้น จะมีการคิดดอกเบี้ยจากนักลงทุนด้วย

ซึ่งการที่นักลงทุนสามารถกู้ซื้อหุ้นได้นั้นจะเป็นการช่วยเพิ่มอำนาจซื้อ และสภาพคล่องให้กับนักลงทุนแต่ก็มีข้อควรระวัง ถ้าราคาหุ้นที่วางเป็นหลักประกันไว้ลดลงมากๆ จนอัตรามาร์จิ้นต่ำกว่าเกณฑ์ ที่กำหนด โบรกเกอร์อาจบังคับให้ลูกค้าวางหลักประกันหรือเรียกเงินสดเพิ่ม หรืออาจโดนบังคับขาย (Forced Sell) หุ้นดังกล่าวได้

 

ดังนั้นผู้ที่เหมาะกับบัญชีประเภท Credit Balance คือ นักลงทุนที่มีความรู้และประสบการณ์ในตลาดหุ้นมาพอสมควร และมีความเข้าใจในด้านความเสี่ยงจากการซื้อขายหุ้นเป็นอย่างดี เนื่องจากอำนาจซื้อที่เพิ่มขึ้นจากการกู้ยืมมาซื้อหุ้นจะสามารถช่วยเพิ่มผลตอบแทนให้มากขึ้น แต่ในอีกมุมหนึ่งกรณีที่ผลการลงทุนเป็นขาดทุนก็ช่วยเร่งให้อัตราการขาดทุนต่อเงินต้นมีมากขึ้นเช่นกัน

ทั้งนี้แต่ละประเภทบัญชี จะมีค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหุ้น(Commission) ที่แตกต่างกันไป (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ https://bit.ly/3ztcTs6

เมื่อทราบถึงจุดเด่นของบัญชีแต่ละประเภทแล้ว นักลงทุนตัดสินใจได้ว่าเราเหมาะสมกับบัญชีประเภทใดสนใจเปิดพอร์ตหุ้นเพื่อใช้โปรแกรม Finansia HERO ฟรี! ได้ที่  https://bit.ly/TRAINER01

แชร์เพจ
Back To Top